วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559

BARCODE ของ ISBN หนังสือ

เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ
(International Standard Book Number – ISBN)

            เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) เป็นรหัสเฉพาะกำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือแต่ละชื่อเรื่อง โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้กำหนดเลขให้แต่ละประเทศทั่วโลกและมอบหมายให้หน่วยงานในแต่ละประเทศเป็นผู้บริการเลข ISBN สำเร็จรูปให้กับสำนักพิมพ์ สำหรับประเทศไทยมอบให้สำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นผู้บริการเลข ISBN 

โครงสร้างของระบบ ISBN :: เลข ISBN ประกอบด้วยตัวเลข 13 หลัก แบ่งเป็น 5 กลุ่ม โดยใช้เครื่องหมายขีด (-) แบ่งกลุ่มตัวเลข ดังนี้
   
  ISBN 978 - 974 - 13 - 3479 - 6,  ISBN  978 - 974 - 7912 - 89 - 9,     
  
ส่วนที่ 1    รหัสบาร์โค้ด แสดงสินค้า/ผลิตภัณฑ์   
ส่วนที่ 2    รหัสกลุ่มประเทศ (Group identifier) แบ่งตามประเทศหรือกลุ่มประเทศตามภูมิศาสตร์หรือกลุ่มประเทศตามภาษา 
                มี 1-5 หลัก เช่น 974 รหัสประเทศไทย   
ส่วนที่ 3    รหัสสำนักพิมพ์ (Publisher prefix) มี 2-7 หลัก ขึ้นกับว่าสำนักพิมพ์นั้นพิมพ์หนังสือมากน้อยเพียงใด
                ถ้าพิมพ์มากจะได้รหัสน้อยหลัก   
ส่วนที่ 4    รหัสลำดับชื่อเรื่อง (Title number) มีกี่หลักขึ้นกับจำนวนรหัสกลุ่มและรหัสสำนักพิมพ์    
ส่วนที่ 5    เลขตรวจสอบ (Check digit) ใช้ตรวจสอบว่าเลขที่ถูกป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์นั้นถูกต้องหรือไม่ มี 1 หลัก (0-9) 
             หรือ X   
  
ประโยชน์ของเลข ISBN :: 

1. เพื่อความสะดวก ถูกต้อง รวดเร็ว ในการสั่งซื้อหนังสือ การยืมคืน การยืมระหว่างห้องสมุด การสืบค้น และแลกเปลี่ยนข้อมูล 
2. เมื่อนำไปใช้ร่วมกับระบบบาร์โค้ด สามารถนำข้อมูลไปใช้บริหารสินค้า วางแผนการผลิต ควบคุมสินค้าคงคลัง 

การขอรับเลข ISBN จากหอสมุดแห่งชาติ :: 

สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ หรือหน่วยงานราชการ ต้องกรอกรายละเอียดของหนังสือในแบบฟอร์มการขอเลข ISBN ได้ 4 วิธี 
1. ทางจดหมาย ถึง ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ 
2. ทางโทรสาร ที่หมายเลข 0-2281-5450, 0-2628-5175 
3. ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ E-mail : isbn@nlt.go.th 
4. ติดต่อขอรับด้วยตนเอง ที่กลุ่มงานคัดเลือกและประเมินคุณภาพทรัพยากรห้องสมุด 

สิ่งพิมพ์ขอเลข ISBN ได้ 

ประเภทสิ่งตีพิมพ์ มีดังนี้ ::  
1. หนังสือทั่วไป 
2. สิ่งพิมพ์สื่อประสม (หนังสือ เทป หรือวิดีทัศน์)
3. แผนที่ 
4. สิ่งพิมพ์อักษรเบรลล์  

ประเภทสิ่งไม่ตีพิมพ์ มีดังนี้ ::
1. สิ่งพิมพ์ในรูปวัสดุย่อส่วน 
2. วิดีทัศน์ 
3. สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ 
4. ซอฟต์แวร์ด้านการศึกษา    

สิ่งพิมพ์ที่ไม่ต้องขอเลข ISBN :: 
  
1. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เช่น วารสาร หนังสือพิมพ์ 
2. สิ่งพิมพ์อายุการใช้งานสั้น เช่น แผ่นพับ แผ่นโฆษณา 
3. ปฏิทิน สมุดบันทึก เกมส์ต่าง ๆ 
4. หลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา 
5. สมุดภาพระบายสี สมุดแบบฝึกหัด 
6. บัตรอวยพร บัตรคำ 
7. ผลงานทางวิชาการที่ขอปรับระดับในสถานศึกษาหรือหน่วยงานต่าง ๆ 
8. รายงานการวิจัยของหน่วยงาน 
9. สิ่งพิมพ์ฉบับสำเนาที่ไม่ได้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ 

หลักการขอเลข ISBN ::

1. หนังสือที่ยังไม่เคยพิมพ์ 
2. ขอเลขใหม่เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อจัดพิมพ์ครั้งใหม่ (edition) กรณีพิมพ์ซ้ำ เพิ่มเติม (reprint) 
และไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาข้อมูล ไม่ต้องขอ 
3. หนังสือชื่อเดียวกันแต่ต่างรูปแบบ เช่น ปกแข็ง ปกอ่อน 
4. หนังสือหลายเล่มต่อกัน (Multi-volume)

การพิมพ์เลข ISBN พิมพ์ได้ 2 รูปแบบ ::   
ISBN 978-974-13-3479-6    
 
ตำแหน่งที่พิมพ์เลข ISBN ในตัวเล่มหนังสือ :: 
- ปกหน้า 
- หลังหน้าปกใน 
- มุมล่างของปกหลัง 

สถานที่ติดต่อ :: 
กลุ่มงานคัดเลือกและและประเมินคุณภาพทรัพยากรห้องสมุด สำนักหอสมุดแห่งชาติ ถ. สามเสน ดุสิตกรุงเทพฯ 10300
โทรสาร : 0-2281-5450, 0-2628-5175 (ส่งข้อมูล)
โทรศัพท์ : 0-2282-3808-9 หรือ 0-2281-5212 หรือ 0-2281-5313 ต่อ 117 (โทร.สอบถามเลข ISBN)
เว็บไซต์ : www.nlt.go.th , E-mail : isbn@nlt.go.th