วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สตีฟจ๊อบ แรงบันดาลใจของนักสร้างสรรค์

ชีวิตของ สตีฟจ็อบ เหมือนเป็นแรงบันดาลใจให้นักคอมพิวเตอร์ developer รุ่นเก่า ๆ ว่าอย่าพึ่งหมดไฟ อย่าท้อแท้

แม้ว่าปัญหาเราเจอน้อยมาก ๆ สำหรับ จ๊อบ ในหนทางการสร้างสรรค์ พวกเราต้อง "กระหายและเรียนรู้อยู่เสมอ"

ไม่เหมือนกับ บิลเกต ซึ่งเหมือนแค่ กีดกันทางการค้า ช่วงนี้เมื่อท้อ ๆ เขียนโปรแกรมไม่ออกก็จะอ่าน ประวัติ จ๊อบ

เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ต่อไป สู้ ..สู้...




แม้จะเป็นนักธุรกิจร่ำรวยระดับแสนล้าน แต่ไม่ว่าจะปรากฏกาย ณ ที่แห่งใด หรือแม้แต่ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Apple คนทั่วไปมักชินตากับภาพ สตีฟ จอบส์ ในชุดแต่งกายเรียบง่าย สวมเสื้อยืดคอเต่าแขนยาวสีดำ ยี่ห้อ St. Croix กางเกงยีนส์ลีวายส์ รุ่น 501 และสวมรองเท้ากีฬายี่ห้อ New Balance รุ่น 992 เป็นประจำ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของเขา

สตีฟ จอบส์ หรือสตีเฟน พอล จอบส์ (Steven Paul Jobs) เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกัน ซีอีโอใหญ่แห่งค่าย Apple Inc. ยักษ์ใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกของโลก รวมทั้งเป็น ผู้บริหารระดับสูงของค่ายพิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ (Pixar Animation Studios)ด้วย

กว่าจะถึงวันนี้ ชีวิตของซีอีโอใหญ่ได้เผชิญปัญหามานับครั้งไม่ถ้วน แต่ด้วยหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนานิกายเซน ที่เขาได้ศึกษาเรียนรู้ ช่วยให้เขาก้าวผ่านอุปสรรคทั้งปวงมาได้


• ชีวิตช่วงแรก ไม่ได้ปริญญา แต่ได้วิชา
เริ่มสนใจศึกษาพุทธศาสนา

สตี เฟน พอล จอบส์ เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1955 ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรนอกสมรสของนักศึกษาสาวมหาวิทยาลัย กับศาตราจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ มารดาแท้ๆ ยกเขาให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ครอบครัว “จอบส์” ซึ่งมีหัวหน้าครอบครัวเป็นช่างเครื่อง โดยขอสัญญาว่า บุตรชายของเธอจะต้องได้รับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย

เมื่อโตขึ้น จอบส์เข้าศึกษาต่อที่ Reed College ในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ได้เพียง 6 เดือน ก็ลาพักเรียน เพราะไม่เห็นความน่าสนใจของสิ่งที่เขาเรียนอยู่ แต่เขาก็กลับเข้าศึกษาใหม่อีก 1 ปีครึ่ง โดยลงเรียนเฉพาะ คอร์สที่เขาสนใจ เช่น การประดิษฐ์ตัวอักษร (ซึ่งภายหลังเขาได้นำไปใช้ประโยชน์ ในการออกแบบตัวพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ Macintosh) หลังจากนั้น เขาหยุดเรียนถาวรและไม่ได้ศึกษาจนจบมหาวิทยาลัยตามที่มารดาแท้ๆ ของเขาหวังไว้

ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยนี้เองที่จอบส์เริ่มหันมาศึกษา พุทธศาสนานิกาย เซน เขาสนใจอ่านวรรณกรรมทางพุทธศาสนาหลายเล่ม และหนังสือที่มีอิทธิพล สูงสุดกับเขาคือ Zen Mind, Beginner’s Mind ซึ่งเขียนโดยชุนริว ซูซุกิ กล่าวกันว่า หลังการศึกษาหลักธรรมของเซน จอบส์เริ่มมีความเชื่อว่า การหยั่งรู้โดยสัญชาตญาณนั้น ก่อให้เกิดปัญญา เขาจึงเริ่มฝึกสมาธิในห้องนอนแคบๆ ที่แชร์ร่วมกับ “แดเนียล คอตคี” เพื่อนสนิท ท่ามกลางกลิ่นธูป

• ออกแสวงหาตัวตนที่แท้จริง

ใน ปี 1974 จอบส์ ในวัย 19 ปี ได้ขอลาพักงานประจำ ที่เขาทำอยู่ในบริษัทเครื่องเล่นวิดีโอเกมส์ Atari เพื่อเดินทางไปอินเดีย เป็นเวลา 1 เดือน พร้อมกับเพื่อนรัก “แดเนียล คอตคี” เพื่อแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับการรู้แจ้งเห็นจริงด้านจิตวิญญาณ และเมื่อเดินทางกลับสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง เขาได้กลายเป็นพุทธศาสนิกชน สวมเสื้อผ้าแบบอินเดียโบราณและโกนศีรษะ

หลังจากนั้น เขาได้แวะเวียนไปที่ศูนย์เซน ลอส อัลทอส ในเมืองลอส อัลทอส รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นประจำ ที่นี่เขาเริ่มฝึกการบำบัดแบบกรีดร้องดังๆ และรับประทานผลไม้เป็นอาหาร และผลไม้ที่เขาโปรดปรานเป็นพิเศษก็คือ แอปเปิ้ล นั่นเอง

ในปี 1976 ขณะอายุ 21 ปี จอบส์ได้เข้าทำงานกับบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด และเริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนานิกายเซนอย่างจริงจังกับ “โกบุน ชิโนะ โอโตโกวะ” พระอาจารย์ชาวญี่ปุ่น ที่ศูนย์เซน ลอส อัลทอส (ซึ่งภายหลัง เมื่อจอบส์เข้าพิธีแต่งงานแบบเซน กับ “ลอรีน เพาเวล” ในวันที่ 18 มีนาคม 1991 พระอาจารย์โอโตโกวะได้มาเป็นประธานในพิธี)

• เริ่มก่อตั้งบริษัท Apple
ดีไซน์สินค้าด้วยแนวคิดเซน

ใน ปี 1976 จอบส์และเพื่อนสมัยเรียนที่ชื่อ “สตีฟ วอซเนียก” ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Apple Computer ขึ้นที่โรงรถในบ้านของจอบส์ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่จอบส์กับวอซเนียกได้นำเสนอออกสู่สายตา ได้แก่เครื่อง Apple I และเพียง 10 ปีให้หลัง Apple ก็เติบโตจากคนเพียง 2 คนกลายเป็นบริษัทใหญ่โตที่มีมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ และพนักงานมากกว่า 4,000 คน!!

จอบส์เคยกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Wired ของอเมริกาว่า

“มีคำคำหนึ่งในศาสนาพุทธ คือ จิตของผู้เริ่มต้น มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่ทุกคนควรจะมีจิตของผู้เริ่มต้น”

ซึ่งเขาอธิบายต่อไปว่า มันเป็นจิตที่มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง ซึ่งค่อยๆทำให้เราตระหนักถึงแก่นแท้ของสิ่งเหล่านั้น จิตของผู้เริ่มต้น ก็คือการนำหลักการของเซนมาปฏิบัติจริง เป็นจิตบริสุทธิ์ที่ปราศจากอคติ การคาดหวัง การตัดสิน ความลำเอียงให้คิดว่า จิตของผู้เริ่มต้น เป็นเหมือนจิตของเด็กน้อย ซึ่งเต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น ความสงสัย และความ ประหลาดใจ

ด้วยความเชื่อดังกล่าว สตีฟ จอบส์ จึงนำแนวคิดแบบเซนมาใช้กับบริษัท Apple Inc ของเขา ในการออกแบบรูปลักษณ์และการใช้งานของสินค้าให้มีแนวทางบริสุทธิ์ ครบถ้วนสมบูรณ์ และง่ายต่อการใช้งาน

• พบมรสุมชีวิต แต่พิชิตด้วยความรักในงาน

เมื่อ จอบส์อายุ 30 ปี หลังจากเพิ่งเปิดตัว Macintosh เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดของตัวเองได้ปีเดียว เขาถูกไล่ออกจากบริษัทที่ตนเองเป็นผู้ก่อตั้ง หลังจากทะเลาะกับผู้บริหาร และกรรมการบริษัทก็เข้าข้างผู้บริหารคนนั้น

เรื่องนี้เป็นความสูญ เสียครั้งใหญ่ในชีวิตของเขา จอบส์กล่าวว่า เขาได้สูญเสียสิ่งที่ได้ทำมาตลอดชีวิตไปในพริบตา ถึงกับคิดจะออกจากวงการคอมพิวเตอร์ไปชั่วชีวิต เขาไม่ได้ทำอะไรหลังจากนั้นอีกหลายเดือน

แต่แล้วความรู้สึกอย่าง หนึ่งก็สว่าง ขึ้นข้างในตัวของจอบส์ ซึ่งเขาค้นพบว่า ตัวเองยังคงรักในสิ่งที่ทำมาแล้ว ความล้มเหลวที่ Apple ไม่อาจเปลี่ยนแปลงความรักที่เขามีต่อสิ่งที่ได้ทำมาแล้วได้ ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ซึ่งต่อมาเขาได้พบว่า การที่เขาถูกไล่ออกจาก Apple ได้กลายเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นในชีวิต เพราะภาระอันหนักจากการประสบความสำเร็จในอดีตที่เขาแบกไว้นั้น ได้ถูกแทนที่ด้วยความเบาสบายในการเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง ซึ่งช่วยปลดปล่อยเขาให้เป็นอิสระ นั่นก็คือเขาได้ปล่อยวางความสำเร็จเก่านั้นลง และเริ่มต้นใหม่ด้วยใจที่เบาสบาย เบิกบาน เป็นจิตของผู้เริ่มต้นอย่างที่เขาเคยบอกไว้นั่นเอง

จอบส์กล่าวว่า ความล้มเหลวเป็นยาขม แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไข้ เมื่อชีวิตเล่นตลกกับคุณ จงอย่าสูญเสียความเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณรัก ดังนั้นคุณจะต้องหาสิ่งที่คุณรักให้เจอ เพราะวิธีเดียวที่จะทำให้คุณเกิดความพึงพอใจอย่างแท้จริง คือการได้ทำในสิ่งที่คุณเชื่อว่ามันยอดเยี่ยม และวิธีเดียวที่จะทำให้คุณสามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ก็คือ คุณจะต้องรักในสิ่งที่คุณทำ และถ้าหากคุณยังหามันไม่พบ อย่าหยุดหาจนกว่าจะพบ และคุณจะรู้ได้เองเมื่อคุณได้ค้นพบสิ่งที่คุณรักแล้ว

หลัง จากนั้น เขาได้เริ่มตั้งบริษัทใหม่ชื่อ NeXT และ Pixar (ซึ่งขณะนี้เป็นสตูดิโอผลิตการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก) ได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนจากคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องแรกของโลกนั่นคือ Toy Story

ส่วน Apple ซึ่งไร้เงาของจอบส์นั้น ไม่ได้เฟื่องฟูขึ้นเลย ดังนั้นบริษัทฯจึงได้หันมาซื้อบริษัท NeXT เพื่อทำให้จอบส์ได้กลับคืนสู่ Apple อีกครั้ง รวมทั้งเทคโนโลยีที่เขาคิดค้นขึ้นที่ NeXT ก็ได้กลายเป็นหัวใจในยุคฟื้นฟูของ Apple

• ใช้การเจริญมรณสติทุกวัน
เป็นเครื่องมือช่วยการตัดสินใจในชีวิต

เมื่อ อายุ 17 ปี จอบส์ประทับใจข้อความหนึ่งที่เขาได้อ่านจากหนังสือ ซึ่งสอนให้ทุกคนมีชีวิตอยู่โดยคิดว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต และตลอดชีวิตที่ผ่านมา เขาจะถามตัวเองในกระจกทุกเช้าว่า ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายในชีวิตของเขา เขาจะยังคงต้องการทำสิ่งที่กำลังจะทำในวันนี้หรือไม่ ถ้าหากคำตอบเป็น “ไม่” ติดๆ กันหลายวัน เขาก็รู้ว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาจะต้องเปลี่ยนแปลง

จอบส์ เล่าว่า วิธีคิดว่าคนเราอาจจะตายวันตายพรุ่ง เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเท่าที่เขาเคยรู้จักมา ซึ่งได้ช่วยให้เขาสามารถตัดสินใจครั้งใหญ่ๆ ในชีวิตได้ เพราะเมื่อความตายมาอยู่ตรงหน้า แทบทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวังของคนอื่น ชื่อเสียงเกียรติยศ ความกลัวที่จะต้องอับอายขายหน้าหรือล้มเหลว จะหมดความหมายไปสิ้น เหลือไว้ก็แต่เพียงสิ่งที่มีคุณค่ามีความหมายและความสำคัญที่แท้จริงเท่า นั้น

“วิธีคิดเช่นนี้ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะช่วยให้คุณไม่ตกลงไปในกับดักความคิดที่ว่า คุณมีอะไรที่จะต้องสูญเสีย เพราะความจริงแล้ว เราทุกคนล้วนมีแต่ตัวเปล่าๆ ด้วยกันทั้งนั้น”

จอบส์ พูดถึงความตายว่า กลางปี 2004 เขาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนชนิดรุนแรง และไม่มีทางรักษา เขาจะมีอายุอยู่ได้ไม่เกิน 3-6 เดือน แพทย์ที่รักษาแนะนำให้เขากลับบ้าน และจัดการสะสางภารกิจที่มีอยู่ให้เรียบ ร้อย ซึ่งความหมายก็คือให้ “เตรียมตัวตาย”

แต่แล้วในเย็นนั้นเมื่อ แพทย์ได้ตัดชิ้นเนื้อที่ตับอ่อน ไปตรวจอย่างละเอียด ผลปรากฏว่า เขาเป็นมะเร็งตับอ่อน ชนิดที่พบเพียงแค่ 1 เปอร์เซนต์ของผู้ป่วย ซึ่งรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ในปี 2009 จอบส์เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายตับที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี่ และกลับไปทำงานที่ Apple อีกครั้ง หลังลาหยุดเป็นเวลา 6 เดือน

ซีอี โอใหญ่ของ Apple กล่าวว่า นี่เป็นประสบการณ์เฉียดตายที่สุดของเขา ซึ่งทำให้เขาสามารถพูดได้เต็มปากยิ่งกว่า เมื่อตอนที่ใช้ความตายมาเตือนตัว เองเป็นมรณานุสติ และเมื่อผ่านห้วงเวลานั้นมาได้ เขาบอกว่าความตายคือประดิษฐกรรมที่ดีที่สุดของ “ชีวิต” ความตายคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิต เขาได้พูดถึงความตายไว้ว่า

“ไม่ มีใครอยากตาย แม้ว่าคนที่อยากขึ้นสวรรค์ ก็ไม่อยากตายเพื่อจะได้ไปที่นั่น แต่เราทุกคนต้องตาย ไม่มีใครรอดพ้นไปได้ ดังนั้นความตายก็คือตัวเปลี่ยนแปลงชีวิต มันจะกำจัดคนเก่าออกไป(ตาย) เพื่อเปิดทางให้คนใหม่ได้เข้ามา(เกิด) ตอนนี้คนใหม่ก็คือพวกคุณ แต่ในไม่ช้า พวกคุณก็จะค่อยๆแก่ และถูกกำจัดออกไป(ตาย) นี่คือหลักความจริง”

จอบส์ ได้เตือนว่า

“เวลาของคุณจึงมีจำกัด และอย่ายอมเสียเวลามีชีวิตอยู่ในชีวิตของคนอื่น จงอย่ามีชีวิตอยู่ด้วยผลจากความคิดของคนอื่น และอย่ายอมให้เสียงของคนอื่นๆ มากลบเสียงที่อยู่ภายในตัวของคุณ และที่สำคัญที่สุดคือ คุณจะต้องมีความกล้าที่จะก้าวไปตามที่หัวใจคุณปรารถนาและสัญชาตญาณของคุณจะ พาไป เพราะหัวใจและสัญชาตญาณของคุณรู้ดีว่ คุณต้องการจะเป็นอะไร”

ทุก วันนี้ จอบส์ในวัย 55 ปียังคงถือปฏิบัติตามแบบเซน ที่มีวิถีแห่งความเรียบง่ายแต่ลุ่มลึก และเขามักอ้างคำพูดของอาจารย์เซนหลายๆท่าน และหลักปรัชญาเซน ในระหว่างการแสดงสุนทรพจน์ในที่ต่างๆ

9 บทเรียนทองของสตีฟ จอบส์

9 คำพูดที่ดีที่สุดที่คัดเลือกมานี้ จะช่วยให้คุณทำงานได้สำเร็จตามสไตล์ซีอีโอแสนล้าน

1. สตีฟ จอบส์ พูดว่า

“นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้ตาม”

นวัตกรรมหรือวิธีการใหม่ เป็นสิ่งไร้ขีดจำกัด มีเพียงจินตนาการเท่านั้นที่มีขอบเขต ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องเริ่มคิดนอกกรอบ ถ้าคุณทำงานในภาคธุรกิจที่กำลังเติบโต ต้องรู้จักคิดหาทางทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ และอยากจะทำธุรกรรมด้วย แต่ถ้าคุณอยู่ในธุรกิจที่กำลังหดตัว ต้องรีบออกมาจากธุรกิจนั้นโดยเร็ว และเปลี่ยนแปลงก่อนที่คุณจะกลายเป็นคนตกยุค ตกงาน หรือธุรกิจล่มสลาย และต้องจำไว้เสมอว่า คุณจะผัดวันประกันพรุ่งไม่ได้ ต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงเดี๋ยวนี้

2. สตีฟ จอบส์ พูดว่า

“จงเป็นคนที่มีคุณภาพสูง คนบางคนไม่เคยชินกับการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คาดหวังความเป็นเลิศ”

ไม่ มีหนทางลัดสู่ความเป็นเลิศ คุณจะต้องตั้งใจและให้ความสำคัญ ใช้ความสามารถ ทักษะ และพรสวรรค์ที่มี พยายามทำให้มากกว่าคนอื่น มีมาตรฐานสูงกว่า และใส่ใจในรายละเอียดที่ทำให้เกิดความแตกต่าง ความเป็นเลิศไม่ใช่เรื่องยาก แต่คุณต้องลงมือทำทันที แล้วคุณจะประหลาดใจในสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในชีวิต

3. สตีฟ จอบส์ พูดว่า

“วิธีเดียวที่จะทำงานให้ได้ผลดีเยี่ยม คือ คุณต้องรักในสิ่งที่ทำ ถ้าคุณยังไม่เจอสิ่งที่รักในตอนนี้ จงมองหาไปเรื่อยๆ อย่าด่วนสรุป เพราะมันเป็นเรื่องของหัวใจ คุณจะรู้ได้เอง เมื่อเจอสิ่งที่รัก”

จงทำในสิ่งที่รัก มองหาอาชีพการงานที่ทำให้คุณมีจุดประสงค์ ทิศทาง และความพึงพอใจในชีวิต เมื่อคุณมีเป้าหมายและพยายามไปให้ถึง มันจะทำให้ชีวิตของคุณมีความหมาย ทิศทาง และความพอใจ ซึ่งไม่เพียงช่วยให้มีสุขภาพดีและอายุยืนยาว แต่ยังจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นเมื่อต้องเผชิญอุปสรรค

4. สตีฟ จอบส์ พูดว่า

“คุณก็รู้ว่า อาหารส่วนใหญ่ที่เรากิน เราไม่ได้ผลิตด้วยตัวเราเอง เราสวมใส่เสื้อผ้าที่คนอื่นผลิต เราพูดภาษาที่คนอื่นพัฒนาขึ้น เราใช้คณิตศาสตร์ที่คนอื่นค่อยๆปรับปรุงมาเรื่อยๆ ผมหมายถึงว่า เราเป็นฝ่ายรับอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น คงเป็นความรู้สึกที่น่าปลาบปลื้มอย่างยิ่งที่เราสามารถสร้างสรรค์บางสิ่ง บางอย่าง ที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ”

จงใช้ชีวิตตามหลักศีลธรรม พยายามทำให้เกิดความแตกต่างบนโลกใบนี้และมีส่วนร่วมให้เกิดสิ่งที่ดีงามยิ่ง ขึ้น คุณจะพบว่า มันจะทำให้ชีวิตของคุณมีความหมายมากยิ่งขึ้น แถมยังเป็นยาแก้ความเบื่อหน่ายที่ได้ผลดีอีกด้วย ลองมองไปรอบๆตัว แล้วคุณจะพบว่า มีสิ่งต่างๆให้คุณทำอยู่เสมอ และจงพูดคุยกับผู้อื่นถึงสิ่งที่คุณกำลังทำ แต่อย่าพร่ำสอน หรือคิดว่าตัวเองถูกต้อง หรือหลงตัวเอง เพราะจะทำให้คนอื่นไม่อยากคุยด้วย ขณะเดียวกัน คุณต้องไม่กลัวที่จะทำตนเป็นตัวอย่าง และใช้โอกาสที่มี บอกเล่าถึงสิ่งที่คุณกำลังทำ

5. สตีฟ จอบส์ พูดว่า

“มีคำพูดในพุทธศาสนาว่า จิตของผู้เริ่มต้น มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่ทุกคนควรจะมีจิตของผู้เริ่มต้น”

ซึ่งเขาอธิบายต่อไปว่า มันเป็นจิตที่มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความ เป็นจริง ซึ่งค่อยๆทำให้เราตระหนักถึงแก่นแท้ของสิ่งเหล่านั้น จิตของผู้เริ่มต้น ก็คือการนำหลักการของเซนมาปฏิบัติจริง เป็นจิตบริสุทธิ์ที่ปราศจากอคติ การคาดหวัง การตัดสิน ความลำเอียง ให้คิดว่า จิตของผู้เริ่มต้น เป็นเหมือนจิตของเด็กน้อย ซึ่งเต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น ความสงสัย และความประหลาดใจ

6. สตีฟ จอบส์ พูดว่า

“เราคิดว่า โดยทั่วไปแล้ว คุณดูโทรทัศน์เพื่อพักสมอง และคุณใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อต้องการให้สมองทำงาน”

ใน รอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีรายงานการศึกษาจำนวนมากที่ยืนยันหนักแน่นว่า การดูทีวีส่งผลเสียด้านจิตใจและมีอิทธิพลด้านศีลธรรม และคนที่ติดทีวีส่วนมาก แม้จะรู้ว่า มันทำให้ชินชาและเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ แต่ก็ยังใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งอยู่หน้าจอสี่เหลี่ยม ดังนั้น จงปิดทีวีซะ เพื่อถนอมเซลล์สมอง แต่ต้องระวัง เพราะการใช้คอมพิวเตอร์ก็อาจเป็นการพักสมองได้เช่นกัน ลองเปลี่ยนมาเล่นเกมที่พัฒนาสติปัญญาดีกว่า

7. สตีฟ จอบส์ พูดว่า

“ผมสูญเงินไป 250 ล้านดอลลาร์ภายใน 1 ปี มันทำให้ผมรู้จักตนเองดีขึ้น”

อย่า มองว่า การทำผิดกับความผิดเป็นเรื่องเท่าเทียมกัน เพราะคนที่ประสบความสำเร็จ โดยไม่เคยล้มเหลวหรือทำผิดเลยนั้น ไม่มีหรอก มีแต่คนที่ประสบความสำเร็จ เคยทำผิดพลาดและรู้จักเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อทำให้ถูกต้องในครั้งต่อไป พวกเขามองความผิดพลาดเป็นเครื่องเตือนสติ มากกว่าความสิ้นหวัง การไม่เคยทำผิดเลย แสดงว่า คนนั้นไม่เคยใช้ชีวิตอย่างเต็มที่

8. สตีฟ จอบส์ พูดว่า

“ในโลกนี้ไม่เคยมีใครที่ไม่เคยทำผิดพลาด เราเกิดมาบนโลกใบนี้แล้วก็ได้ทำสิ่งผิดพลาดเช่นกัน ไม่งั้นแล้ว เราจะเกิดมาทำไม”

คุณรู้หรือไม่ว่า มีเรื่องใหญ่ๆหลายเรื่องที่ต้องทำให้สำเร็จในชีวิต และรู้หรือไม่ว่า เรื่องสำคัญเหล่านั้นจะถูกฝุ่นจับ เมื่อคุณใช้เวลามัวแต่นั่งคิดมากกว่าลงมือทำ เราทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมของขวัญชิ้นหนึ่งที่จะมอบให้กับชีวิตของเราเอง ของขวัญที่เต็มไปด้วยความปรารถนา ความสนใจ ความหลงใหล และความอยากรู้อยากเห็น ของขวัญชิ้นนี้ แท้จริงแล้ว มันคือเป้าหมายของเรานั่นเอง และคุณตั้งเป้าหมายของคุณได้โดยไม่ต้องขออนุญาตใครทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน ครู พ่อแม่ นักบวช หรือเจ้าหน้าที่ ก็ไม่อาจเลือกเป้าหมายให้คุณได้ คุณต้องหาจุดมุ่งหมายด้วยตัวคุณเอง

9. สตีฟ จอบส์ พูดว่า

“เวลาของคุณมีจำกัด จงอย่าเสียเวลาใช้ชีวิตตามแบบคนอื่น อย่าติดอยู่ในหลักความเชื่อ ซึ่งทำให้คุณใช้ชีวิตตามผลความคิดของผู้อื่น อย่ายอมให้เสียงความคิดของคนอื่น มากลบเสียงที่อยู่ภายในตัวของคุณ และทีสำคัญที่สุด คือ คุณต้องมีความกล้า ที่จะทำตามหัวใจปรารถนาและสัญชาติญาณ เพราะมันรู้ดีว่า จริงๆแล้ว คุณต้องการเป็นอะไร เรื่องอื่นๆกลายเป็นเรื่องรองไปโดยสิ้นเชิง”

คุณ เบื่อหรือเปล่าต่อการใช้ชีวิตตามความฝันของคนอื่น ไม่ต้องสงสัยเลย ก็มันเป็นชีวิตของคุณเอง คุณมีสิทธิใช้ชีวิตในแบบที่คุณต้องการ โดยไม่ต้องมีใครมาคอยขัดขวาง ลองให้โอกาสตัวเองฝึกความคิดริเริ่มในบรรยากาศที่ปราศจากความกลัวและแรงกด ดัน จงใช้ชีวิตตามแบบที่คุณเลือก และเป็นเจ้านายตัวเอง

ใครขโมยเนยแข็งฉันไป

ผมอ่านหนังสื่อเรื่อง ใครขโมยเนยแข็งฉันไป เมื่อประมาณสิบกว่าปีก่อนในช่วงการเปลี่ยนแปลง
ในชีวิต พึ่งเกิดขึ้น มันเป็นเรื่องดี ๆ เรื่องหนึ่งที่สอนใจผมได้ตลอดเวลาจนถึงวันนี้ การใช้ชีวิตจึงไม่ควร
ประมาท ชีวิตมีขึ้นมีลง ขอคิดที่ผมได้จากเรื่องนี้คือ สอนให้เราใช้ชีวิตอยู่กับคำว่าไม่ประมาท เหมือน
การตรวจเช็คเนยแข็งว่า มีกลิ่นผิดปกติไหม วันนี้ผมเห็นเพื่อนร่วมงาน น้อง ๆ ที่รู้จักหลายคนกำลังเผชิญ
กับปัญหาชิีวิต ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง กำลังจะตัดสินใจเปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นไปได้อยากให้ลองอ่านเรื่องนี้
ดูอาจทำให้คุณมีกำลังใจเหมือนผมเมื่อก่อนก็ได้


มีตัวละครขนาดจิ๋วอยู่ 4 ตัว
วิ่งวนอยู่ในเขาวงกต ซึ่งสลับซับซ้อนแห่งหนึ่ง
เพื่อเสาะหาเนยแข็งอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต
ในนี้มีสองชีวิตเป็นหนู ตัวหนึ่งชื่อ “สนิฟฟ์” กับ”สเคอร์รี่”
ส่วนมนุษย์แคระอีกสองคนชื่อ “เฮ็ม”กับ “ฮอว์”
ทั้งสี่ชีวิตใช้เวลาในแต่ละวันในการวิ่งหาเนยแข็งในเขาวงกตนั้น

เจ้าหนู สนิฟฟ์ และ สเคอร์รี่ ใช้วิธีลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ โดยใช้จมูกเป็นเครื่องนำทาง
พวกมันจะจำทางที่ไม่มีเนยแข็งไว้ แล้ววิ่งไปทางอื่นจนถูกทาง ส่วนคนแคระ
เฮ็ม กับ ฮอว์ ก็ใช้ความรู้และประสบการณ์ในอดีตเข้าช่วย
ในที่สุดทั้ง 4 ชีวิต ได้พบกับคลังเนยแข็งขนาดใหญ่
ที่ดูเหมือนมีเนยเพียงพอที่ให้กินไปได้ตลอดชีวิต
พวกเขาได้พบแหล่งอาหารอันวิเศษที่แสนสะดวกสบาย
และไม่ต้องวิ่งตระเวนหาอีกต่อไป

เวลาผ่านไปจนมาถึงเช้าวันหนึ่ง ทั้ง 4 ชีวิต
ได้พบว่าเนยแข็งกำลังจะหมดไป เจ้า สนิฟฟ์
เห็นเช่นนั้นก็ไม่เสียเวลาวิเคราะห์ มันออกวิ่งค้นหาเนยแข็งก้อนใหม่ทันที
ส่วนเจ้า สเคอร์รี่ เห็นเช่นนั้นก็วิ่งตามโดยไม่รอช้า สนิฟฟ์ ไปถึงไหน
สเคอร์รี่ ก็ไปที่นั่น

คนแคระ เฮ็ม กับ ฮอว์
ไม่คาดมาก่อนว่าเนยแข็งจะหมดไป เฮ็ม
ถึงกับตีโพยตีพายกล่าวโทษเทวดาฟ้าดินว่า ไม่ยุติธรรมกับเขา
แล้ววิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ว่าเนยแข็งควรจะกลับมาหาเขาอีก

แต่ ฮอว์ ดูจะยอมรับความจริงได้มากกว่า
เขาเริ่มคิดว่า เขาควรทำการเปลี่ยนแปลง เขาจึงชวน เฮ็ม
ให้ออกไปหาเนยแข็งใหม่แบบที่หนูสองตัวกำลังทำอยู่ ปรากฏว่า เฮ็ม
ไม่ยอมรับฟัง ฮอว์ จึงไปสู่เขาวงกตตามลำพัง

และแล้วเจ้าหนูทั้งสองก็ได้พบคลังเนยแข็งแห่งใหม่ที่ดีและใหญ่กว่าเดิม

ฮอว์นั้นแม้จะออกมาช้ากว่าเจ้าหนูทั้งสอง
แต่ในที่สุดเขาก็ได้พบคลังเนยแข็งใหม่ เช่นกัน เขาจึงกลับไปชวน เฮ็ม
ให้ออกมาจากสถานการณ์ที่ไม่มีเนยแข็งเหลืออยู่ แต่ เฮ็ม กลับปฏิเสธ
ทั้งยังไม่ยอมรับเนยแข็งที่ ฮอว์ อุตส่าห์เอาไปฝาก ฮอว์
จึงจำใจต้องปล่อยเพื่อนไว้เช่นนั้น

ระหว่างที่ ฮอว์
ออกมาเผชิญโชคครั้งใหม่ ความคิดของเขาเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ทีละน้อย
เขาสรุปสัจธรรมแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยเขียนไว้บนกำแพงเป็นระยะๆ
“ถ้าคุณไม่เปลี่ยนแปลง คุณอาจจะสูญพันธุ์”

ฮอว์ สุขสบายอยู่ในคลังเนยแข็งใหม่
แต่ก็ยังคิดและหวังว่า เฮ็มเพื่อนรักจะตามมาตามลายแทง
และข้อคิดที่เขาบอกทางไว้ให้ แล้ววันหนึ่ง ฮอว์
ก็ได้ยินเสียงกุกกักดังมาจากทางเดินข้างนอก นั่นอาจจะเป็น เฮ็ม ก็ได้ใครจะรู้

4 ชีวิต
เป็นตัวแทนแห่งสัญชาตญาณและความคิดในการตอบโต้ต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
สนิฟฟ์ เป็นผู้ดมกลิ่นการเปลี่ยนแปลงได้ก่อนใคร จึงนำออกไปก่อน
สเคอร์รี่ ไม่คิดอะไรเลย วิ่งตามกระแสอย่างเดียว
เฮ็ม เป็นผู้ปฏิเสธและต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
โดยคิดว่าการเปลี่ยนแปลงจะปรากฏโฉมในทางเลวร้ายก
ว่าเดิม
ส่วน ฮอว์ เป็นคนเรียนรู้และปรับตัวตามยุคสมัย
เมื่อเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงจะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

ในโลกแห่งธุรกิจ และโลกแห่งการทำงาน
มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย
นิทานเรื่องนี้อาจให้แง่คิดที่เตือนให้ผู้คนมองเห็นการเปลี่ยนแปลง
และเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างชาญฉลาด

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เหรียญมี2ด้าน

ลองหยิบเหรียญบาทขึ้นมา1เหรียญ
แล้วลองมองเหรียญในมือคุณ
คุณเคยคิดบ้างหรือไม่ว่า
ทำไม? คุณมองเห็นเหรียญได้เพียงแค่ด้านเดียว
ทำไม? คุณถึงไม่สามารถมองเห็น
ทั้ง2ด้านของเหรียญได้พร้อมๆกัน

ด้านของเหรียญก็เปรียบเสมือนกับตัวคุณ
ที่มีทั้งด้านบวก และด้านลบ

คนเรามักจะมองเห็นแต่ข้อดีของตัวเอง
และชอบที่จะมองความผิดพลาดของผู้อื่น

การที่คุณมองเห็นแต่ข้อดีของตัวเอง
ก็เหมือนกับการที่คุณมองเหรียญ
แค่เพียงด้านเดียว
จะมีน้อยคนนักที่จะยอมเสียสละเวลา
มองเหรียญให้ครบทั้ง2ด้าน

เพราะธรรมชาติของมนุษย์
มักจะเข้าข้างตัวเอง
และคิดเสมอว่า
สิ่งต่างๆที่ตนทำอยู่นั้น
ถูกต้องเสมอ
แต่จะมีน้อยคนนัก
ที่ชั่งใจได้ ระหว่างถูก กับผิด

ถ้าคุณเป็นคนประเภทที่ชอบเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอ
ลองหยิบเหรียญขึ้นมา1เหรียญ
ยอมสละเวลาสัก2-3นาที
นั่งพิจารณาเหรียญที่ละด้าน
แล้วคุณจะเห็นความต่าง
ว่าเหรียญยังมีทั้งหัวและก้อย
แล้วนับประสาอะไรกับคน
ที่มีทั้งด้านบวก และลบในตัว

ถ้าคุณเข้าใจถึงธรรมชาติของเหรียญได้
คุณก็จะเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์
และเข้าใจตัวคุณเอง

เมื่อคุณเข้าใจตัวคุณเองแล้ว
คุณก็จะเข้าใจผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น
และพร้อมที่ยอมรับผู้อื่น
ที่มีทั้งด้านบวก และด้านลบ
เหมือนกับตัวคุณ

ถ้าคุณมองเหรียญทั้ง2ด้าน
แล้วยังหาด้านลบของตัวคุณเองไม่เจอ
คุณลองให้เพื่อนของคุณนั่งหันหน้าเข้าหาคุณ
แล้ววางเหรียญตั้งไว้ตรงกลาง
คุณจะเห็นเหรียญด้าน1
และเพื่อนของคุณก็จะเห็นเหรียญอีกด้านหนึ่ง
ที่คุณมองไม่เห็น

สิ่งที่เพื่อนของคุณเห็นก็คือ
ด้านอีกด้านหนึ่งในตัวคุณ
ที่ต้องใช้สายตารอบๆด้านในการมอง
ที่ผู้อื่นจะเห็นได้ชัดเจนกว่าตัวคุณ
เพราะคนเรามักจะมองเห็น
ความผิดพลาดของคนอื่นได้ดีกว่า
แต่ฉันไม่ได้หมายความว่า
เพื่อนของคุณเป็นคนไม่ดี
ที่ชอบมองแต่ความผิดพลาดของผู้อื่น
แต่ฉันแค่จะบอกว่า
ในบางครั้ง
การส่องกระจกก็ทำให้เรา
เห็นตัวเองแค่ด้านหน้าเท่านั้น
แต่ถ้าเรามีเพื่อน
ที่คอยมองข้างหลังให้เรา
เราก็จะสามารถเห็นตัวเองได้รอบด้าน
และชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ลองเปิดใจให้กว้าง
และพร้อมจะยอมรับฟังข้อบกพร่องของตัวเอง
ที่คนอื่นมองเห็นแต่ตัวคุณมองไม่เห็น
เพราะคนเราไม่สามารถมองเห็นถึงข้อเสียของตัวเองได้
ถ้าไม่มีใครคอยบอก
ก็เหมือนกับการที่คุณไม่สามารถ
มองเห็นเหรียญได้พร้อมกันทั้ง2ด้านนั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เตือนสติตนเอง จาก สุภาษิตไทย

ดินพอกหางหมู
การทำสิ่งใดก็ตาม ถ้ามัวแต่ผัดวันประกันพรุ่งเพราะความเกียจคร้าน ไม่ทำให้สำเร็จเสียโดยเร็ว ปล่อยให้คั่งค้างทับถมมากเข้า งานก็จะเพิ่มขึ้นทุกที ทำเท่าไหร่ไม่มีเสร็จ หรือหมายถึง หนี้สินที่ไปก่อไว้ทีละเล็กทีละน้อยจนมากมาย ก็เรียกว่าเป็นดินพอกหางหมู เช่นกัน ดินพอกหางหมู หมายความในแง่ไม่ดีเท่านั้น การเก็บหอมรอมริบเงินทองจากน้อยให้เป็นมาก ไม่เรียกว่า ดินพอกหางหมู


กบในกะลาครอบ
หมายถึง ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อย แต่สำคัญตนว่ามีความรู้และประสบการณ์ ...คนที่ขาดวิสัยทัศน์มองเห็นแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้น


ดินต้องหมั่นฟื้น ปืนต้องหมั่นยิง หญิงต้องหมั่นเอาใจ



มีขึ้นก็ต้องมีลง


คางคกขึ้นวอ
คนที่มีฐานะตํ่าต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว.

กิ้งก่าได้ทอง
หมายถึง คนที่ไม่มีความสำคัญ ไม่เคยมีสมบัติและไม่มีความคิดด้วย เมื่อได้รับลาภยศแม้เพียงเล็กน้อย ก็คิดว่าตนมีความสำคัญเหนือผู้อื่น เกิดความเห่อเหิมลืมตัวแสดงความเย่อหยิ่งจองหองวางท่าใหญ่โต คนเช่นนี้ ย่อมเป็นที่รังเกียจของคนเป็นอันมาก


จับปลาสองมือ
หมายถึง ผู้ที่ไม่ตัดสินใจให้แน่นอนว่าควรจะทำสิ่งใด เห็นไปว่าสิ่งโน้นก็ดี สิ่งนี้ก็ดี เลยทำหมดทุกอย่าง ทำให้ต้องแบ่งความคิด เวลา และกำลังกาย สำหรับงานเหล่านั้น เป็นเหตุให้งานแต่ละอย่างไม่ได้รับผลดีเท่าที่ควรจะได้ ในที่สุดเขาจะทำงานไม่ได้ดีเลยแม้แต่สักอย่างเดียว

จับงูข้างหาง
หมายถึง การกระทำอะไรโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ว่าควรไม่ควรอย่างไร มีคุณหรือมีโทษอย่างไร อาจได้รับโทษภัยจากการกระทำนั้นเหมือนการจับงูข้างหาง งูจะฉกกัดเอาไว้

ขี่ช้างจับตั๊กแตน
หมายถึง งานที่จะทำงานเป็นงานเล็กน้อย แต่ทำราวกับเป็นงานใหญ่โต จัดหาผู้คน เครื่องมือ เครื่องใช้มากมาย โดยไม่จำเป็นสำหรับงานนั้น ใช้เป็นคำตำหนิผู้ที่เตรียมการใหญ่โตกว่างานที่จะต้องทำ ทำให้เสียเงินทองและเวลามากไปเปล่าๆ ผลที่ได้จะไม่คุ้มกับที่เสียไป


เข็นครกขึ้นภูเขา
หมายถึง การทำงานที่ยากลำบาก จะต้องมีความบากบั่น พากเพียร อุตสาหะ มีมานะอดทน ไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย และ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น งานนั้นจึงจะสำเร็จได้



ถ่มน้ำลายรดฟ้า
หมายถึง คนต่ำที่คิดล่วงเกินคนสูง หรือคนชั่วที่ คิดทำลายคนดี ตนเองนั่นแหละจะได้รับผลร้ายจาก จากกระทำของตน

สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ
หมายถึง สอนผู้ที่รู้ดีอยู่แล้ว ย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใด ทั้งอาจเป็นที่ขบขันของผู้รู้เห็นอีกด้วย

น้ำลดตอผุด
หมายถึง คนที่กำลังมีอำนาจวาสนานั้นแม้จะทำความผิดความชั่วอย่างไร ก็ไม่มีผู้กล้ายกความผิดความชั่วนั้นขึ้น ความผิดความชั่วทั้งหมดจะถูกอำนาจวาสนาปกปิดไว้ เหมือนน้ำที่เต็มฝั่งปกปิดตอทั้งหลายจากสายตา เมื่อคนผู้นั้นหมดอำนาจวาสนา ความผิดความชั่วที่ทำไว้ก็จะถูกยกขึ้นทั้งหมด เหมือนเมื่อน้ำลดตอใต้น้ำทั้งเล็กใหญ่จะผุดขึ้นให้เป็นระเกะระกะ

ปิดทองหลังพระ
หมายถึง การทำงานอะไรก็ตามที่เป็นความดี โดยไม่ใคร่มีผู้รู้เห็นแม้จะเป็นการทำความดีที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์มาก แต่เมื่อไม่มีใครรู้ตัวผู้กระทำการกระทำของผู้นั้นท่านเปรียบเหมือนกับการปิดทองหลังพระ คือแม้จะไม่มีผู้รู้เห็นตัวคนทำ แต่ความดีก็เป็นความดีที่สมบูรณ์ เหมือนความสมบูรณ์ขององค์พระที่มีทองปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง

มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก
หมายถึง คนพูดไม่อยู่กับร่องกับรอยเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ที่เรียกว่าจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน เป็นผู้ที่คนดูถูก ใครถูกกล่าวว่าเป็นมะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก จะไม่มีใครเชื่อถือ

วัวหายล้อมคอก
หมายถึง เมื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดหายไป หรือเกิดเรื่องเดือดร้อนอะไรขึ้นแล้ว จึงคิดหาวิธีป้องกันในภายหลัง ย่อมไม่เกิดประโยชน์ ไม่ทำให้สิ่งที่หายไปแล้วกลับคืนมาได้ เปรียบเหมือนมีวัว แต่ไม่ทำคอกล้อมวัวไว้ ครั้นเมื่อวัวหายไปแล้ว จึงทำคอกขึ้น วัวก็หายเสียแล้ว

ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
หมายถึง การเสียทรัพย์ไปในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มกับทรัพย์ที่ต้องเสียไป เช่นการทุ่มเทข้าวของเงินทองเพื่อจัดงานใดงานหนึ่งให้ใหญ่โตเกินเหตุ เป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่ได้รับผลคุ้มค่า และถ้าทำเกินฐานะก็จะเป็นเหตุให้มีหนี้สิน ให้เป็นที่ตำหนิติฉินอีกด้วย

มือไม่พายเอาตีนราน้ำ
หมายถึง บางคนไม่ช่วยทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีโดยเร็ว แต่ยังขัดขวางถ่วงให้ล่าช้า

บ่างช่างยุ
คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกันบ่างเป็นสัตว์รูปร่างคล้ายกระรอก มีหนังพังผืดข้างลำตัวคล้ายปีก ถลาร่อนลงมาจากที่สูงได้ สำนวนนี้มาจากนิทานสุภาษิตที่เล่าว่าบ่างเที่ยวพูดยุนกกับหนูมิให้รับค้างคาวเป็นพวก

ชุบมือเปิป
ความหมาย ฉวยประโยชน์จากที่คนอื่นทำไว้แล้ว โดยไม่ได้ลงทุนลงแรง

ขว้างงูไม่พ้นคอ
หมายถึง ทำอะไรแล้วผลร้ายย้อนกลับมาสู่ตัวเอง

ฝนตกขี้หมูไหล
หมายถึง พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน ทำให้เดือดร้อนไปทั่ว เมื่อฝนตก ขี้หมูที่อยู่ในเล้าจะถูกฝนชะให้ไหลเลอะเทอะส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว สำนวนนี้บางทีกล่าวต่อไปว่า “ ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกับ”

งาน CFC2011



cfc2011 on livestream.com. Broadcast Live Free


ลองทำถ่ายทอด ONLINE ของงาน "จากเส้นใยสู่ภูมิปัญญา จากภูมิปัญญาสู่อาภรณ์ (Contemporary Fashion Contest 2011)" ในวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2554 ณ สตูดิโอ 61 ซอยสุขุมวิท 61

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อคติ

อคติ แปลว่า ไม่ใช่ทางไป ไม่ใช่ทางเดิน ไม่ควรไป ไม่ควรเดิน ในภาษาไทยหมายความถึง ความลำเอียง ความไม่ยุติธรรม ความไม่เป็นธรรม

อคติเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังมีกิเลส ซึ่งจะต้องมีอยู่ด้วยกันทุกคน เพราะปกติคนเราจะทำอะไรก็ตาม มักจะคิดถึงประโยชน์ของตนเอง ญาติพี่น้อง หรือพวกพ้องก่อนเสมอ ซึ่งการกระทำในลักษณะเช่นนี้ เป็นสาเหตุให้ความถูกใจอยู่เหนือความถูกต้อง ความผิดอยู่เหนือความถูก หรือผิดเป็นชอบ

ประเภทของอคติ 4

พุทธศาสนาแบ่งอคติออกเป็น 4 ประเภท ตามพื้นฐานแห่งจิตใจ คือ

1. ฉันทาคติ ความละเอียงเพราะความรักใคร่ หมายถึง การทำให้เสียความยุติธรรม เพราะอ้างเอาความรักใคร่หรือความชอบพอกัน ซึ่งมักเกิดกับตนเอง ญาติพี่น้อง และคนสนิทสนม การแก้ฉันทาคติ ต้องทำใจให้เป็นกลาง โดยการปฏิบัติต่อทุกคนให้เหมาะสมเหมือนๆกัน

2. โทสาคติ ความละเอียงเพราะความไม่ชอบ เกลียดชัง หรือโกรธแค้น หมายถึง การทำให้เสียความยุติธรรม เพราะความโกรธ หรือลุอำนาจโทสะ การแก้ไขโทสาคติ ทำได้ด้วยการทำใจให้หนักแน่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และพยายามแยกเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกัน

3. โมหาคติ ความละเอียงเพราะความไม่รู้ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หมายถึง การทำให้เสียความรู้สึกธรรมเพราะความสะเพร่า ความไม่ละเอียดถี่ถ้วน รีบตัดสินใจก่อนพิจารณาให้ดี วิธีแก้ไข ทำด้วยการเปิดใจให้กว้าง ทำใจให้สงบ มองโลกในแง่ดี และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

4. ภยาคติ ความละเอียงเพราะความกลัว หมายถึง การทำให้เสียความยุติธรรม เพราะมีความหวาดกลัว หรือเกรงกลัวภยันตราย วิธีแก้ทำได้ด้วยการพยายามฝึกให้เกิดความกล้าหาญ โดยเฉพาะความกล้าหาญทางจริยธรรม คือ กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ดีงาม

แนวทางปฏิบัติเพื่อชีวิตและสังคม

อคติเป็นทางที่ไม่ควรปฏิบัติ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง โดยการพิจารณาถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมา หากพิจารณาว่าเรากำลังมีจิตใจลำเอียง ก็ให้ปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองใหม่ให้ตรงกันข้าม คือความไม่ลำเอียง

โดยปกติคนเราชอบความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และเกลียดความลำเอียง ตาการที่เราจะสร้างความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และหลีกเลี่ยงความลำเอียงได้นั้น ค่อนข้างยาก วิธีเดียวที่ทำได้ คือ ฝึกฝนจิตใจ โดยถือหลัก เอาใจเขามาใส่ใจเรา เราเกลียดความอยุติธรรม ความไม่ชอบทำอย่างไร คนอื่นก็เช่นเดียวกับเรา เกลียดความลำเอียงชอบความยุติธรรมเหมือนกัน