วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เนื้อหาแง่คิดจากการอบรมเสริมพลังให้กับการทำงาน

อามิสทาน คืออะไร

การบริจาคหรือการเสียสละทรัพย์สินเงินทองข้าวของ

ตลอดทั้งกำลังกายและสติปัญญาความรู้ความสามารถของตนเอง

เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ด้วยคุณธรรมคือ เมตตา กรุณา มุทิตา พรหมวิหาร

การเสียสละวัตถุสิ่งของหรือสิ่งที่เนื่องกันเช่นกำลังกาย

สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ เป็นต้น เหล่านี้เรียกว่า อามิสทาน

เมื่อเราบริจาคหรือเสียสละไปแล้ว เป็นกุศลคุณความดี มีอานิสงส์หรือมีผลอย่างไร ?

มีผลเกิดขึ้นทั้งในทางจิตใจของเราและมีผลที่เรียกว่าเป็นวิบาก

คือจะมีผลของกรรมนี้ให้บังเกิดผลแก่ตน ถ้าจะว่าถึงคุณความดีคือทานหรือจาคะ

คือการเสียสละเช่นนี้ เมื่อมีการเสียสละไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น

ประการแรกที่เห็นชัดเจนคือ ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีจิตใจกว้างขวาง

เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา แก่สรรพสัตว์โลกอื่น

คุณธรรมนี้เกิดขึ้นแล้วในใจและมีปกติเป็นผู้มีจิตใจที่ถูกชำระความตระหนี่ เหนียวแน่น

ความเห็นแก่ตัว จำเพาะตัว จำเพาะตน จำเพาะหมู่เหล่าให้หมดสิ้นไป

การให้ธรรมและการให้อภัยเป็นทาน ชื่อว่า ธรรมทานและอภัยทาน

ในพระธรรมบทพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ สพพทานํ ธมมทานํ ชินาติ ธรรมทานชนะการให้ทานอื่นทั้งปวง


อย่างไรจึงเรียกว่า ธรรมทาน ?
ปฏิบัติธรรมเองเพื่อชำระกิเลสออกจากกาย วาจา ใจของตนเอง

ตั้งตนอยู่ในคุณความดี เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น เรียกว่าแจกธรรมะ

ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้ที่ดำเนินชีวิตประจำวันพูดแต่คำพูดไม่ดี ทำแต่กรรมที่ไม่ดี

คิดแต่ความคิดที่ไม่ดีมาตลอด ประพฤติปฏิบัติตัวอย่างที่เลวแก่ผู้อื่น

ชื่อว่าแจกอธรรม ธรรมทานต้องปฏิบัติเองเพื่อละชั่ว ทำดี ทำใจให้ใส

เพื่อชำระกิเลสหยาบ กลาง และละเอียดๆ ยิ่งขึ้นไปถึงวิสุทธิ

คือ ความบริสุทธิ์แห่งใจ แล้วจึงจะพบสันติสงบ

และจะถึงนิพพานคือความดับกิเลสไม่มีเหลือ จ

ะถึงนิพพานต้องเป็นลำดับจนถึงที่สุดอย่างถาวรนี่เรียกว่าธรรมทาน

เบื้องต้นเป็นปฐมคือทำความดี ละชั่ว ทำใจให้ใสเองทั้งหมด และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น

แล้วยังให้การแนะนำสั่งสอนอบรมผู้อื่น'

ให้ประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามพระธรรม พระวินัย

และสนับสนุนอุปการะแก่ความประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเช่นนั้นของบุคคล

หรือคณะบุคคล ผู้ที่กำลังเพียรประพฤติปฏิบัติธรรม

เพื่อชำระกิเลสแห่งทุกข์นั้นให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

ตรงนี้ก็ยิ่งด้วยธรรมทานไปอีก


อย่างไรเรียก อภัยทาน ?
ก็เมื่อบุคคลเจริญธรรมขึ้นด้วยทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล

เพื่อละชั่ว ทำดี ฝึกอบรมจิตใจให้ผ่องใสและอบรมปัญญาให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นเพียงใด

ความเข้าใจ ความซึ้งใจในบาปบุญคุณโทษก็เจริญมากขึ้น

และพรหมวิหารธรรมอันมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็เจริญขึ้นเป็นบุญบารมี

เป็นเมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี อุปบารมี และ ปรมัตถบารมียิ่งขึ้นเพียงนั้น

ความเห็นอกเห็นใจเข้าใจในความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของสัตว์โลก

ผู้ยังมีจักษุอันมืดบอดด้วยความหลงผิด จึงคิดผิด พูดผิด ทำผิดๆ

ในเราก็มีมากขึ้น ความรักปรารถนาให้สัตว์โลกเป็นสุข

ด้วยเมตตาพรหมวิหารธรรม และความเวทนาสงสาร

ปรารถนาให้สัตว์โลกให้พ้นจากความทุกข์ด้วยกรุณา พรหมวิหารธรรม

แม้จะถูกกร้าวร้าว ปรามาส ล่วงเกิน และถูกก่อกรรมทำเข็ญแก่ตนมาแล้วมาก

จากทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตเพียงใด ย่อมไม่ติดใจโกรธพยาบาทยิ่งขึ้น

และสามารถอดทน อดกลั้นต่อความก้าวร้าว ปรามาส ล่วงเกิน ความเบียดเบียน

จากสัตว์โลกทั้งหลายผู้ล่วงเกิน และผู้เบียดเบียนโดยรอบทั้งหลายเหล่านั้น

ได้มากขึ้นเพียงนั้น จนถึงวางใจเป็นอุเบกขาไม่ยินดี ยินร้ายได้มั่นคง

นี้ชื่อว่า อภัยทาน จัดเป็นทานอันเยี่ยมยอดไปอีก